ค่ายโหมเรารักษ์จะนะ : ตอนที่ 2 ตามรอยเรื่องเล่าเมืองจะนะ
น้องๆชาวค่ายตื่นกันตั้งแต่ ๐๕.๓๐ น. เบิกบานด้วยโยคะยามเช้าริมทะเล ฝึกลมหายใจเข้าออกสูดอากาศบริสุทธิ์เพื่อความผ่องแผ้วของชีวิต หลังอาหารเช้าน้องทุกคนกระตือรือร้นขึ้นรถเพื่อออกตามรอยเรื่องเล่าเมืองจะนะจากสองวิทยากรเมื่อวานนี้ จุดแรกจะไปเรียนรู้เมืองเก่าที่บ้านเขาจันทร์ หมู่ที่๑๐ ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หลังจากนั้นจะตามรอยส้มจุกสายพันธุ์ดั้งเดิมของเมืองจะนะ
รถยนต์มุ่งหน้าสู่บ้านเขาจันทร์ ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา น้องๆชาวค่ายได้พบกับคุณตากุลจักร ศรียาภัย อายุ ๘๐ ปีและ พี่คนึง นวลมณี ผู้จะนำทีมนำสำรวจรุ่นจิ๋วตามรอยเรื่องเล่าเมืองเก่าจะนะ
คุณตากุลจักร เล่าว่า เมื่อสมัยรัชการที่ ๕ เจ้าเมืองจะนะคนสุดท้าย คือ พระมหานุภาพปราบสงคราม ชื่อเดิมว่า "ปลอด" ซึ่งเป็นพ่อของยาย บ้านเจ้าเมืองขณะนั้นมีเนื้อที่ประมาณ ๕ ไร่ ในบริเวณบ้านจะปลูกไม้ไผ่หลอด มีลำขนาดเท่าหัวแม่มือ ปลูกล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน ปัจจุบันไม่มีซากบ้านหลงเหลือขณะนี้ที่บริเวณนั้นกลายเป็นที่นา
ค่ายโหมเรารักษ์จะนะ
ค่ายโหมเรารักษ์จะนะ : ตอนที่ ๑ ตามรอยประวัติศาสตร์เมืองจะนะ
ช่วงเดือนตุลาคมเป็นช่วงที่โรงเรียนต่างๆปิดภาคการเรียนการสอน เด็กๆหลายคนมีกิจกรรมต่างๆมากมายระหว่างปิดภาคเรียน แต่มีผู้ปกครองกลุ่มหนึ่งได้นั่งพุดคุยจนนำไปสู่การจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนในช่วงเวลาแบบนี้ให้กับลูกหลานและเด็กๆในชุมชน
ค่ายโหมเรารักษ์จะนะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๕-๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๑ ณ บ่อโชนรีสอร์ท อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยมีน้องๆเยาวชนจากหลากหลายพื้นที่จากอำเภอจะนะ
จังหวัดสงขลาร่วมสี่สิบชีวิตมาเข้าค่ายร่วมกันเพื่อเรียนรู้เรื่องทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน และเรียนรู้เรื่องราวและตามรอยประวัติศาสตร์เมืองจะนะ ซึ่งเป็นค่ายเป็นค่ายที่มีความหลากหลายสูงมากเพราะมีน้องเล็กๆตั้งแต่น้องป.๒ถึงพี่เรียนระดับปริญญาตรี และมีผู้ปกครองอาสาสมัครเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงค่ายและร่วมคิด ร่วมกำหนดกระบวนการจัดค่ายเอง โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์พลเมืองเด็กสงขลาในการให้คำปรึกษา
นายกิตติภพ สุทธิสว่าง ผู้ประสานเครือข่ายผลกระทบนโยบายสาธารณะ ในโครงการดับบ้านดับเมืองเรียนรู้อยู่ดีที่ปากใต้ เล่าว่าสืบเนื่องจากการศูนย์การเรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน ตำบลบ้านนา ได้จัดและสร้างกระบวนการเรียนรู้ศิลปะสร้างสุขให้กับเยาวชนในชุมชนทุกวันอาทิตย์ และได้มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อวิถีชีวิตชุมชน ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยทำการฝากเงินและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างสมาชิกในทุกวันเสาร์แรกของเดือน จากการแลกเปลี่ยนของสมาชิกทำให้เห็นว่าสภาพชุมชนและสังคมในปัจจุบันเป็นลักษณะต่างคนต่างอยู่ ขาดการพึ่งพาอาศัยและดูแลซึ่งกันและกันเหมือนเช่นชุมชนในอดีต และเยาวชนในชุมชนหันเหไปพึ่งพิงเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้นเรื่อยๆได้แก่ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์
ตำรวจไทย :ไม่เคยเปลี่ยนแปลง
จากเหตุการณ์ของเช้าวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ เชื่อว่าคนไทยทั้งประเทศคงสลดใจกับโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรมของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คงไม่มีใครอยากเห็นภาพคนไทยต้องฆ่าคนไทยด้วยกันเอง(เว้นเสียแต่นายทักษิณ ชินวัตรที่คงสาแก่ใจ)
ภาพเหตุการณ์ในวันนั้นที่สื่อสารผ่านสื่อโทรทัศน์โดยเฉพาะTHAI TPS ASTVและหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆในวันรุ่งขึ้น คงไม่มีมูลเหตุจูงใจให้เชื่อว่าเป็นการสลายการชุมนุมอย่างนุ่มนวลดังที่ตำรวจระดับสูงบางคนให้สัมภาษณ์อย่างแน่นอน เพราะนั่นคือภาพเหตุการณ์ฆาตกรรม สยองขวัญคนไทยทั้งประเทศมากกว่า หากภาพที่เห็นมีแต่ภาพข่าวไร้คำบรรยาย คนดูอาจเข้าใจว่าเป็นการทำสงครามกลางเมืองในประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังทำสงครามปราบปรามข้าศึกมากกว่าเป็นภาพที่ข้าราชการตำรวจไทยกระทำกับคนไทย ผู้ชุมนุมขับไล่รัฐบาลตามสิทธิรัฐธรรมนูญที่พึงมี
เหตุการณ์ในวันนั้นคงสามารถยืนยันบางสิ่งบางอย่างในสังคมไทยได้ว่านักการเมือง ตำรวจ ทหารไทยไม่เคยเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อผู้ชุมนุมและไม่เคยเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้กำลังอำนาจในการปราบปรามประชาชนเลยในทุกยุคทุกสมัยนับตั้งแต่เหตุการณ์ ๖ ตุลา ๑๔ ตุลา พฤษภาทมิฬและเหตุการณ์ต่างๆอีกหลายครั้ง หนึ่งในเหตุการณ์คือเหตุการณ์ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๕ การสลายกลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซธรรมและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย อ.จะนะ จ.สงขลา แม้เหตุการณ์ในวันนั้นจะไม่รุนแรงและป่าเถื่อนโหดร้ายเช่นเหตุการณ์ในครั้งนี้ แต่เบื้องหลังความคิดการปรามปราบประชาชนมาจากฐานความคิดทัศนคติเดียวกัน คือ การไม่เคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชน และใช้อำนาจเป็นใหญ่ แม้วันนั้นไม่คนตายแต่ก็มีคนเจ็บ คนถูกจับกุม ทรัพย์สินเสียหายเช่นกัน
บทพิสูจน์การต่อสู้
ใครจะเชื่อว่าคนอย่างพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรและครอบครัวที่ร่ำรวยเงินทองและอำนาจอย่างมหาศาลต้องขึ้นศาลในคดีฉ้อโกงและคดีอื่นๆมากมาย ใครจะคาดคิดว่าคนอย่างพลตำรวจเอกสันต์ ศรุตานนท์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติต้องเดินเชิดหน้าขึ้นศาลจังหวัดสงขลาในฐาน "จำเลย" บุคคลทั้งสองได้ร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของขบวนการต่อสู้ของพี่น้องภาคประชาชนในการคัดค้านโครงการยักษ์ใหญ่ กรณีโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
นับช่วงเวลาจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๕ จนถึงวันนี้ร่วมระยะเวลาห้าปีเศษ หากนึกย้อนหลังไปหลายคนคงจำภาพข่าวเหตุการณ์ในวันนั้นได้ดี ภาพการชุมนุมของชาวบ้านอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาที่ลุกขึ้นมาต่อสู้ปกป้องสิทธิชุมชนจากการรุกรานของโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ในนามของโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย ดำเนินการโดยบริษัทปตท.และบริษัทปิโตรนาส ร่วมทุนเป็นบริษัททรานส์ไทย-มาเลเซีย(ประเทศไทย)จำกัด
เหตุการณ์วันนั้นท่ามกลางการนั่งชมละครทีวีหลังข่าวภาคค่ำกันอย่างเพลิดเพลิน แต่ผู้คนต้องมึนงงเมื่อๆอยู่ภาพละครหลังข่าวถูกแทนที่ด้วยภาพเหตุการณ์ชุลมุนวุ่นวาย ประจันหน้าระหว่างชาวบ้านผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ภาพเจ้าหน้าที่ตำรวจปืนบนรถยนต์หกล้อของผู้ชุมชนทุบตีกระจกหน้ารถ ทุบตีทำร้ายร่างกายผู้ชุมนุมและมีการจับกุมผู้ชุมนุมในเหตุการณ์
คลิปวิดีโอเห็นกันจะๆ “พฤติกรรม...วันแรกของอาศีส”
คลิปวิดีโอ ภาพนายอาศีส พิทักษ์คุมพล ว่าที่จุฬาราชมนตรีคนที่ 18 เมินหนังสือแสดงความยินดีและร้องเรียนให้ช่วยแก้ปัญหา กรณีที่ดินวะกัฟ จากพี่น้องอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และเดินหนีไปอย่างไม่ไยดี ต่อความเดือดร้อนของชาวมุสลิม
นอกจากนั้นกลุ่มผู้ติดตามของนายอาศีส ยังข่มขู่คุกคามตัวแทนจากจะนะ รวมถึงบอกให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเอาตัวออกไป โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งของ The Public พับบลิกโพสต์ รายงานว่า “...ปรากฏว่าโดนคนติดตามกันและผลักไม่ให้เข้ายื่นหนังสือ จนมีการกระทบกระทั่งและมีการด่าทอ รวมทั้งมีการท้าต่อยจากคนสนิทว่าที่จุฬากับกลุ่มที่มายื่นหนังสือ...”
" คลิ้ก play เพื่อเริ่มดู clip "
(เหตุเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 พ.ค.2553 วันประชุมสรรหาจุฬาราชมนตรีคนใหม่ ของประเทศไทย ณ ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติ คลอง 9 จังหวัดปทุมธานี)